“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี2558
ปัจจุบัน บริบททางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ทำให้อาเซียนต้องเผชิญสิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด
การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้ง
ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง
และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า
อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน
ฉบับที่2”
(Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย
3 เสาหลักได้แก่
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political and
Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขแก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธีมีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้านเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic
Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกันเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio -
Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีมีความมั่นคงทางสังคมมีการพัฒนาในทุกๆด้านและมีสังคมแบบเอื้ออารโดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ6 ด้าน
คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การคุ้มครองและสวัสดิการสังคมสิทธิและความยุติธรรมทางสังคมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนการลดช่องว่างทางการพัฒนา
ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น